ข้ามไปเนื้อหา

การเลือกตั้งทั่วไปในกัมพูชา พ.ศ. 2566

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งทั่วไปในกัมพูชา พ.ศ. 2566

← 2561 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 2571 →

ทั้งหมด 125 ที่นั่งในรัฐสภากัมพูชา
ต้องการ 63 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ลงทะเบียน9,710,645 คน เพิ่มขึ้น 13.7%
ผู้ใช้สิทธิ84.59% (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.57)
  First party Second party
 
ผู้นำ ฮุน เซน นโรดม จักราวุธ
พรรค ประชาชนกัมพูชา ฟุนซินเปก
เลือกตั้งล่าสุด 76.85% 125 ที่นั่ง 5.89% 0 ที่นั่ง
ที่นั่งที่ชนะ 120 5
ที่นั่งเปลี่ยน ลดลง 5 เพิ่มขึ้น 5
คะแนนเสียง 6,398,311 716,490
% 82.30% 9.22%
%เปลี่ยน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.45 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.33

ผลการเลือกตั้งแบ่งตามจังหวัด

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

ฮุน เซน
พรรคประชาชนกัมพูชา

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

ฮุน มาแณต
พรรคประชาชนกัมพูชา

การเลือกตั้งทั่วไปในกัมพูชา พ.ศ. 2566 เป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 7 ในกัมพูชาที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เพื่อเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภากัมพูชา[1] ปัจจุบันพรรคประชาชนกัมพูชาครองที่นั่งทั้งหมดในรัฐสภา และนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ขอดำรงตำแหน่งอีก 5 ปี[2]

เบื้องหลัง

[แก้]

ฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2528 (รักษาการแทนตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2527) นับตั้งแต่รัฐประหาร พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา เขาก็รวมอำนาจเข้าสู่การปกครองแบบเผด็จการ[3][4] กลายเป็นระบบรัฐพรรคการเมืองเดียวโดยพฤตินัยใน พ.ศ. 2561 หลังจากศาลฎีกาของกัมพูชายุบพรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดคือพรรคสงเคราะห์ชาติ ที่นำโดยสม รังสี และกึม สุขา[5]

ฮุน เซนได้รับการรับรองให้เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรคประชาชนกัมพูชาในการเลือกตั้งครั้งนี้ ในการประชุมพรรคครั้งที่ 43[6] คณะกรรมการกลางของพรรคยังมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ฮุน มาเนต บุตรชายของฮุน เซน เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรคในอนาคตต่อจากเขา[6][7] ฮุน เซน ให้คำมั่นต่อสาธารณชนว่าจะอยู่ต่อไปจนถึงหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2571 แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนผ่านอำนาจไปยังลูกชายของเขาก็ตาม[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Date of 2023 National Assembly election announced". Khmer Times. 29 June 2022. สืบค้นเมื่อ 29 June 2022.
  2. "Cambodia's ruling party endorses PM's son as future leader". Reuters. 24 December 2021. สืบค้นเมื่อ 4 January 2022.
  3. "Cambodia: Hun Sen re-elected in landslide victory after brutal crackdown". The Guardian. 29 July 2018. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
  4. "Tenth out of Ten". The Economist (Banyan, Asia). 17 November 2012. สืบค้นเมื่อ 29 September 2013.
  5. "Cambodian Parliament launches era of one-party rule". The Straits Times. 5 September 2018. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  6. 6.0 6.1 "Hun Manet unanimously elected to be the future Prime Minister". Khmer Times. 24 December 2021. สืบค้นเมื่อ 4 January 2022.
  7. Hunt, Luke (4 January 2022). "Cambodia's Hun Sen Moves Ahead on Shoring Up Son's Leadership Prospects". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 4 January 2022.
  8. Hutt, David (3 December 2021). "Cambodia's Political Succession Could Get Messy". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 4 January 2022.